18 มี.ค.นี้ ชวนหาคำตอบประเด็นขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ หลังหลายพรรคชูเป็นนโยบาย

หลายพรรคการเมืองชูนโยบายหาเสียงในการเลือกตั้ง 2566 ชวนหาคำตอบในเวทีสัมมนาสาธารณะ “ค่าแรงขั้นต่ำ ขายฝันแรงงานไทย?” 18 มี.ค.นี้ ประชาชนลงทะเบียนร่วมงานได้ฟรี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ได้จัดโครงการอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลางด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บสก.) รุ่นที่ 11 จัดสัมมนาสาธารณะในหัวข้อ “ค่าแรงขั้นต่ำ ขายฝันแรงงานไทย?” ซึ่งหลายพรรคการเมืองในช่วงเวลานี้ต่างออกเป็นหนึ่งนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง 2566 ว่าหากได้เป็นรัฐบาลจะสามารถทำให้ค่าแรงขั้นต่ำสูงขึ้นได้อย่างแน่นอน
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติไปเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2565 ได้อนุมัติกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2565 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอตามมติคณะกรรมการค่าจ้าง สูงสุดที่ 354 บาท และต่ำสุดที่ 328 บาท โดยมีอัตราค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 337 บาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 5.02% และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 ที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็น 9 อัตรา ได้แก่
1. ค่าจ้าง 354 บาท มี 3 จังหวัด
- ชลบุรี
- ระยอง
- ภูเก็ต
2. ค่าจ้าง 353 บาท มี 6 จังหวัด
- กรุงเทพมหานคร
- นนทบุรี
- นครปฐม
- ปทุมธานี
- สมุทรปราการ
- สมุทรสาคร
3. ค่าจ้าง 345 บาท มี 1 จังหวัด
- ฉะเชิงเทรา
4. ค่าจ้าง 343 บาท มี 1 จังหวัด
- พระนครศรีอยุธยา
5. ค่าจ้าง 340 บาท มี 14 จังหวัด
- ปราจีนบุรี
- หนองคาย
- อุบลราชธานี
- พังงา
- กระบี่
- ตราด
- ขอนแก่น
- เชียงใหม่
- สุพรรณบุรี
- สงขลา
- สุราษฎร์ธานี
- นครราชสีมา
- ลพบุรี
- สระบุรี
6. ค่าจ้าง 338 บาท มี 6 จังหวัด
- มุกดาหาร
- กาฬสินธุ์
- สกลนคร
- สมุทรสงคราม
- จันทบุรี
- นครนายก
7. ค่าจ้าง 335 บาท มี 19 จังหวัด
- เพชรบูรณ์
- กาญจนบุรี
- บึงกาฬ
- ชัยนาท
- นครพนม
- พะเยา
- สุรินทร์
- ยโสธร
- ร้อยเอ็ด
- เลย
- พัทลุง
- อุตรดิตถ์
- นครสวรรค์
- ประจวบคีรีขันธ์
- พิษณุโลก
- อ่างทอง
- สระแก้ว
- บุรีรัมย์
- เพชรบุรี
8. ค่าจ้าง 332 บาท มี 22 จังหวัด
- อำนาจเจริญ
- แม่ฮ่องสอน
- เชียงราย
- ตรัง
- ศรีสะเกษ
- หนองบัวลำภู
- อุทัยธานี
- ลำปาง
- ลำพูน
- ชุมพร
- มหาสารคาม
- สิงห์บุรี
- สตูล
- แพร่
- สุโขทัย
- กำแพงเพชร
- ราชบุรี
- ตาก
- นครศรีธรรมราช
- ชัยภูมิ
- ระนอง
- พิจิตร
9. ค่าจ้าง 328 บาท มี 5 จังหวัด
- ยะลา
- ปัตตานี
- นราธิวาส
- น่าน
- อุดรธานี
อย่างไรก็ตาม เมื่อหลายพรรคการเมืองต่างชูนโยบายของตนเอง
ทำให้เกิดการถกเถียงกันในสังคมว่าค่าตอบแทนแรงงานขั้นต่ำในระดับที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่เท่าไรกับการดำรงชีวิตของประชาชนแต่ละพื้นที่ในปัจจุบัน
และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในแต่ละครั้งก็มีทั้งกลุ่มผู้ได้ประโยชน์และกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ
ซึ่งในเวทีสัมมนาสาธารณะครั้งนี้เป็นที่น่าจับตาถึงแนวทางและความเป็นไปได้ในการขึ้นค่าแรง
ปัญหาอุปสรรค
รวมถึงข้อเสนอแนะที่จะเกิดการแลกเปลี่ยนผ่านผู้เข้าร่วมเสวนาทั้ง 5 คน
ประกอบด้วย นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน, นายธนิต
โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย,
รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ที่ปรึกษาฝ่ายการวิจัย นโยบายทรัพยากรมนุษย์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), นายสาวิทย์ แก้วหวาน
ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และ นางสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง
กรรมการสมาคมเครือข่ายแรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย)
สำหรับงานสัมมนาสาธารณะ “ค่าแรงขั้นต่ำ ขายฝันแรงงานไทย?” จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 18 มีนาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้อง Convention Hall อาคาร D สถานีโทรทัศน์ Thai PBS โดยประชาชนผู้สนใจสามารถลงทะเบียนร่วมงานล่วงหน้า (คลิกลงทะเบียน) หรือวอล์กอินเข้าร่วมงานได้ตามวันและเวลาที่กำหนด โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และเวทีนี้ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ร่วมงานร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อหาทางออกร่วมกันในเรื่องค่าแรงขั้นต่ำได้ด้วย.

คุณกำลังดู: 18 มี.ค.นี้ ชวนหาคำตอบประเด็นขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ หลังหลายพรรคชูเป็นนโยบาย
หมวดหมู่: การเมือง
บทความที่เกี่ยวข้อง:
- “ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ” ประชานิยมหาเสียง เอกชน-ภาคประชาสังคม มองขายฝัน
- “โรม” หวังสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจริง ไม่กลัวคำแช่ง “ส.ว.อุปกิต” เตรียมสาวไส้ต่อ
- เลือกตั้ง 2566 : "ศันสนะ" ลุยขายนโยบายพปชร. เพิ่มเบี้ยยังชีพแบบขั้นบันได
- “เศรษฐา” มั่นใจนโยบายพาเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง ย้ำ ไม่ใช่ธุรกิจครอบครัวชินวัตร
- เลือกตั้ง 2566 : "เศรษฐา" ประกาศยกเครื่องเศรษฐกิจ-รัฐบาลเพื่อไทย ไม่หนุนอภิสิทธิ์ชน
- “ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ” เลือกแล้วซบรวมไทยสร้างชาติ คนอุตรดิตถ์รัก “บิ๊กตู่”