แจงดราม่าบทเรียน ไข่ต้มความพอเพียง

แจงดราม่าบทเรียน ไข่ต้มความพอเพียง

เมื่อวันที่ 24 เม.ย. นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณีวิพากษ์วิจารณ์แบบเรียน “ภาษาพาที” ระดับชั้น ป.5 บทที่ จ เรื่อง “ชีวิตมีค่า” ซึ่งมีเนื้อหากินไข่ต้มครึ่งซีกเหยาะน้ำปลา หรือข้าวเปล่าคลุกน้ำผัดผักบุ้ง ทำให้ตัวละครในหนังสือมีความสุข ถือเป็นความพอเพียง จนสังคมตั้งคำถามว่าเป็นการมองโลกอย่างโรแมนติกมากเกินไปหรือไม่ว่า เรื่องนี้ต้องดูที่เจตนารมณ์ของการจัดการเรียนรู้

โดยบทเรียนดังกล่าวเราต้องการให้เด็กนำภาษาไปใช้ และการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดและเห็นคุณค่าของความสุขผ่านบทวรรณกรรม ดังนั้นคนเขียนจึงออกแบบด้วยการกำหนดตัวละครขึ้นในชีวิตจริง มีทั้งคนจนและคนรวย และคนที่เลือกเกิดไม่ได้ ซึ่งเป็นบทบาทสมมติที่คนร่ำรวยอยู่สุขสบาย แต่หาความสุขไม่เจอ แต่อีกครอบครัวที่ยากจนมีไข่ชิ้นเดียวแบ่งปันกันด้วยความสุข ซึ่งไข่ต้มในบทวรรณกรรมนั้นไม่พูดถึงโภชนาการ แต่เล่าถึงความสุขง่ายๆจากการแบ่งปัน จึงไม่อยากให้มีเรื่องดราม่าเกิดขึ้น การเรียนรู้เรื่องหลักโภชนาการที่เด็กต้องเรียนรู้ก็มีอยู่ในหลักสูตรวิชาสังคมศึกษา หมวดสุขศึกษาอยู่แล้ว อีกทั้งอาหารกลางวันในกลุ่มเด็กประถมศึกษาก็ได้รับโภชนาการที่ครบ 5 หมู่จากแผนผัง School lunch.

คุณกำลังดู: แจงดราม่าบทเรียน ไข่ต้มความพอเพียง

หมวดหมู่: ภูมิภาค

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด