ฝุ่น PM 2.5 กทม. ช่วงบ่ายเพิ่มขึ้น เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 63 พื้นที่

อัปเดตค่าฝุ่น PM 2.5 ช่วงบ่ายในพื้นที่ กทม. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 63 พื้นที่

ฝุ่น PM 2.5 กทม. ช่วงบ่ายเพิ่มขึ้น เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 63 พื้นที่

อัปเดตค่าฝุ่น PM 2.5 ช่วงบ่ายในพื้นที่ กทม.มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 63 พื้นที่

วันที่ 5 มีนาคม 2566 มีรายงานว่า ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร สรุปผลการตรวจวัด PM2.5 ณ เวลา 13.00-15.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจวัดได้ 44-72 มคก./ลบ.ม. โดยค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 58.1 มคก./ลบ.ม.

ทั้งนี้พบว่า ค่า PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกินมาตรฐานและอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 63 พื้นที่คือ

1.เขตราชเทวี 2.เขตสัมพันธวงศ์ 3.เขตพญาไท 4.เขตวังทองหลาง 5.เขตปทุมวัน 6.เขตบางรัก 7.เขตบางคอแหลม 8.เขตยานนาวา 9.เขตจตุจักร 10.เขตบางกะปิ 11.เขตลาดกระบัง 12.เขตธนบุรี 13.เขตคลองสาน 14.เขตบางกอกน้อย 15.เขตภาษีเจริญ 16.เขตบางเขน 17.เขตบางพลัด 18.เขตบางขุนเทียน 19.เขตพระนคร 20.เขตสาทร

21.เขตคลองเตย 22.เขตบางซื่อ 23.เขตหลักสี่ 24.เขตบึงกุ่ม 25.เขตสวนหลวง 26.เขตลาดพร้าว 27.เขตคลองสามวา 28.เขตสายไหม 29.เขตห้วยขวาง 30.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 31.เขตบางแค 32.เขตจอมทอง 33.เขตดอนเมือง 34.เขตดินแดง 35.เขตพระโขนง 36.เขตราษฎร์บูรณะ 37.เขตบางกอกใหญ่ 38.เขตตลิ่งชัน 39.เขตทวีวัฒนา 40.เขตดุสิต

41.เขตหนองแขม 42.เขตบางบอน 43.เขตทุ่งครุ 44.เขตวัฒนา 45.เขตบางนา 46.เขตคันนายาว 47.เขตมีนบุรี 48.เขตหนองจอก 49.เขตประเวศ 50.เขตสะพานสูง 51.สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร (เขตจตุจักร) 52.สวนจตุจักร เขตจตุจักร (เขตจตุจักร) 53.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง (เขตลาดกระบัง) 54.อุทยานเบญจสิริ (สวนเบญจสิริ) เขตคลองเตย (เขตคลองเตย) 55.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง (เขตดอนเมือง) 56.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ (เขตทุ่งครุ) 57.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย (เขตบางกอกน้อย) 58.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม (เขตบึงกุ่ม) 59.สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค (เขตบางแค) 60.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา (เขตทวีวัฒนา) 61.สวนหนองจอก เขตหนองจอก (เขตหนองจอก) 62.สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน (เขตบางเขน) 63.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด (เขตบางพลัด)

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM 2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)
ในช่วงวันที่ 5-12 มีนาคม 2566 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี แต่ยังอยู่ในสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ฝุ่น PM 2.5 เกิดการสะสมตัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

และในวันที่ 8 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป อากาศเริ่มอยู่ในสภาวะเปิด ส่งผลให้ฝุ่น PM 2.5 เกิดการสะสมตัวมีแนวโน้มลดลง ในช่วงนี้มวลอากาศเย็นยังแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน แต่เริ่มมีกำลังอ่อนลง มีอากาศเย็นตอนเช้า กลางวันอากาศร้อน (ท้องฟ้าโปร่ง เมฆน้อย) ระยะนี้ไม่มีฝน ทิศทางลมเริ่มแปรปรวนเป็นลมทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้ และลมใต้ พัดแทนที่ลมหนาว เริ่มต้นเข้าสู่ฤดูร้อน ควรระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งในระยะนี้ และวันนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน

ระหว่างวันที่ 6-8 มี.ค. 2566 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอาจมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงได้ในบางพื้นที่ โดยตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. 2566 เป็นต้นไป สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากลมทางใต้ช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร

อย่างไรก็ตาม แจ้งเตือนรวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง

- แอปพลิเคชัน AirBKK
- www.airbkk.com
- www.pr-bangkok.com
- FB: สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
- FB: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม
- FB: กรุงเทพมหานคร
- LINE ALERT
- LINE OA @airbangkok

เพื่อให้ประชาชนวางแผนการทำงาน การทำกิจกรรมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ/มีผลกระทบต่อสุขภาพ ควรลดระยะเวลา หรืองดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง

ทั้งนี้ กรณีประชาชนพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแส ผ่านทาง Traffy Fondue

ข้อมูลจาก แฟนเพจสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร

คุณกำลังดู: ฝุ่น PM 2.5 กทม. ช่วงบ่ายเพิ่มขึ้น เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 63 พื้นที่

หมวดหมู่: ภูมิภาค

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด