นักวิจัยไขข้อข้องใจดาวศุกร์อาจเคยมีมหาสมุทร

น้ำมีอยู่ทั่วไปในระบบสุริยะของเรา โดยปกติจะอยู่ในรูปของน้ำแข็งหรือก๊าซในชั้นบรรยากาศ แม้ว่าบางครั้งจะอยู่ในรูปของของเหลวบนดาวเคราะห์ บนดวงจันทร์หลายดวง หรือแม้แต่ในวงแหวนรอบนอกของแถบดาวเคราะห์น้อยชั้นใน ไปจนถึงบริเวณที่อยู่ห่างจากวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ตรงด้านนอกระบบสุริยะที่เรียกว่าแถบไคเปอร์ ซึ่งเป็นน้ำแข็ง หรือตรงเมฆออร์ตที่อยู่ไกลออกไป 2 ปีแสง ก็ยังมีน้ำอยู่ที่นั่น
เมื่อกลับมาดูเพื่อนบ้านดาวเคราะห์ที่อยู่ในระบบสุริยะชั้นในอย่างดาวศุกร์ ที่ได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์หินที่ร้อน แห้งแล้ง มีขนาดเล็กกว่าโลกเล็กน้อย มีไอน้ำเพียงเบาบางในชั้นบรรยากาศที่มีคาร์บอนไดออกไซด์หนาทึบ แถมดาวศุกร์ก็ดันร้อนกว่าดาวพุธ แม้ว่าจะอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ถึง 2 เท่า แต่เมื่อเร็วๆนี้ นักวิจัยภาควิชาธรณีฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก ในสหรัฐอเมริกา ได้สร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์องค์ประกอบบรรยากาศของดาวศุกร์และออกแบบวิธีการคำนวณ เพื่อไขข้อสันนิษฐานที่ว่าครั้งหนึ่งในยุคแรกๆของดาวศุกร์อาจมีน้ำที่เป็นของเหลวหรือมหาสมุทร และเมฆสะท้อนแสง ทำให้อาจมีสภาพที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยได้
ทั้งนี้ ตามสมมติฐานว่ายุคที่อาศัยได้บนดาวศุกร์น่าจะต้องสิ้นสุดก่อน 3,000 ล้านปีก่อน โดยมีความลึกของมหาสมุทรสูงสุดที่ 300 เมตรทั่วพื้นผิวทั้งหมด แต่ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าดาวศุกร์ไม่สามารถอยู่อาศัยได้มากกว่า 70% ของประวัติศาสตร์ดวงดาว ซึ่งยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ถึง 4 เท่า.
คุณกำลังดู: นักวิจัยไขข้อข้องใจดาวศุกร์อาจเคยมีมหาสมุทร
หมวดหมู่: ต่างประเทศ