ทีมนักวิจัยนานาชาติ เผย ดาวฤกษ์ทารกใกล้หลุมดำกลางทางช้างเผือก

ทีมนักวิจัยนานาชาติ เผย ดาวฤกษ์ทารกใกล้หลุมดำกลางทางช้างเผือก

บริเวณใกล้เคียงของหลุมดำมวลยวดยิ่ง “ซาจิทาเรียส เอ สตาร์” (Sagittarius A* หรือ Sgr A*) ที่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกถูกระบุว่า เป็นพื้นที่มีลักษณะเฉพาะของกระบวนการเคลื่อนที่สูง ทั้งแผ่รังสีเอกซ์ รังสีอัลตราไวโอเลตอย่างรุนแรง สภาวะเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อการก่อตัวดาวฤกษ์ ซึ่งนานมาแล้วที่นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าในช่วงหลายพันล้านปีที่ผ่านมา อาจจะมีดาวฤกษ์ที่วิวัฒนาการมาตั้งแต่อดีต สามารถปักหลักท่ามกลางสภาวะอันปั่นป่วนใกล้เคียงหลุมดำมวลมหึมาที่ใจกลางทางช้างเผือก

จนกระทั่งเมื่อ 20 ปีที่แล้ว มีการพบดาวฤกษ์อายุน้อยมากในบริเวณใกล้เคียงกับหลุมดำ Sgr A* แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าดาวเหล่านี้ไปอยู่ที่นั่นได้อย่างไรหรือก่อตัวขึ้นที่ไหน ล่าสุด ทีมนักวิจัยนานาชาติ นำโดยนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโคโลญ ในเยอรมนี เผยพบว่าดาวฤกษ์อายุน้อยมากที่อยู่ในช่วงการก่อตัว อยู่ใกล้กับหลุมดำ Sgr A* ดาวฤกษ์ดวงนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า X3a แต่ถึงแม้จะเป็นดาวฤกษ์ทารก ทว่าก็ใหญ่กว่าดวงอาทิตย์นับสิบเท่า หนักกว่าดวงอาทิตย์ถึง 15 เท่า

ดาวฤกษ์ X3a มีอายุแค่หลักหลายหมื่นปี สิ่งที่น่าประหลาดใจเป็นพิเศษก็คือในทางทฤษฎีแล้ว มันไม่ควรอยู่ใกล้หลุมดำมวลยวดยิ่งตั้งแต่แรก นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสันนิษฐานว่ามีบริเวณหนึ่งห่างจากหลุมดำไม่กี่ปีแสง ที่มีวงแหวนก๊าซและฝุ่นมีความเย็นเพียงพอ ป้องกันรังสีทำลายล้าง ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขที่เหมาะต่อการก่อตัวดาวฤกษ์.

Credit : The Astrophysical Journal (2023).
DOI: 10.3847/1538-4357/aca977

คุณกำลังดู: ทีมนักวิจัยนานาชาติ เผย ดาวฤกษ์ทารกใกล้หลุมดำกลางทางช้างเผือก

หมวดหมู่: ต่างประเทศ

แชร์ข่าว

โพสต์ล่าสุด